สายโค
แอกเชียล (Coaxial
Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง
หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น
แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ
ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง
2-3 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายโค แอกเชียล
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
COAXIAL CABLE (สายโคแอคเชียล) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า
"สายโคแอ็ค"
ในปัจจุบันใช้เดินในงานระบบรักษาความ ปลอดภัย (SECURITY),
ระบบ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (cctv),ระบบเคเบิ้ลทีวี(CATV), ทีวีรวม (TV,MATV)และระบบดาวเทียม(SATELLITE)สายโคแอคมีด้วยกันหลากหลายรุ่น
และแต่ละรุ่นจะมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน
ซึ่งประอบไปด้วย 4 ส่วน ที่สำคัญดังนี้
1.CONDUCTOR ตัวนำสัญญาณภายในสุดส่วนมากจะเป็นแกนทองแดง
ทำหน้าที่นำสัญญาณจากอุปกรณ์ต้นทางไปยัง ปลายทาง
2. INSULATOR ฉนวนหุ้มตัวนำสัญญาณ มีส่วนช่วยในการลดทอนสัญญาณส่วนใหญ่จะเป็นโฟมหรือโพลิเอธิลีน(PE)
3. SHIELD เป็นโลหะหรือทองแดงถักหุ้มตลอดทั้งเส้น
ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน และป้องกันการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณออกมาภายนอก
4. JACKET เป็นส่วนที่ห่อหุ้มสายเพื่อป้องกันการถูกแทง
ฉีกขาดของสายภายใน ถ้าใช้เดินภายในอาคารจะเป็น PVC ,ใช้ภายนอกอาคารจะเป็น
PE และใช้แขวนเสาจะเป็น PE ที่มี Messenger
ส่วนมาตรฐานในการผลิตสายโคแอค จะมีด้วยกัน 2 มาตรฐานดังนี้
1. MIL-C-17 เป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาในการผลิตสาย
RG ซึ่งเริ่มต้นพัฒนามาจากกิจการทางด้านทหารของสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ ค.ศ. 1930 สำหรับสาย RG นั้น
มีด้วยกันหลากหลายรุ่นตามความต้องการในการใช้งาน เช่น RG-58 C-U,RG-59 B/U
,RG-6/U ฯลฯ ตัวย่อเหล่านี้มีความหมายดังนี้
ตัวอย่าง RG 58 C /U
/U = Universal คือการใช้งานทั่วไป
C = Revision Designed เป็นรุ่ร ที่มีการปรับปรุงจะเป็นตัวอักษร
A,B หรือ C
58 = A Number Assigned เป็นตัวเลขแสดงเบอร์ของสายโคแอค
เช่น 58,59,6 ฯลฯ
RG = Radio Guide ท่อนำคลื่นความถี่
2.JisnC 3501 เป็นมาตรฐานของญี่ปุ่น ซึ่งเกิดจากกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น
เริ่มต้นก่อตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี
1945 และประกาศมาตรฐานในงานอุตสาหกรรมปี 1949
ใช้ชื่อว่า Japanese Industrial Standard (JIS) เพื่อผลิตสาย
3C-2V,7C-2V ฯลฯ ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายรุ่น
สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ตัวย่อเหล่านี้มีความหมายดังนี้
ตัวอย่าง 3 C - 2 V
V = Single braided outer conductor
Double braided outer conductor ลักษณะของชีลด์
+ เปลือกหุ้ม
เช่น E = ชีลด์ทองแดง + PE L = ชีลด์อลูมิเนียม + PVC
N = ชีลด์ทอว + ไนล่อน V = ชีลด์ทองแดง + PVC
W = ชีลด์ทองแดง 2 ชั้น + PVC
2 = Solid PE dielectric core วัสดุที่ทำไดอิเลคตริก
(F = โฟม),(2 = PE โพลิเอธิลีน)
C = Impedance ค่าอิมพีแดนซ์(C
= 75 โอมห์),(d = 50 โอมห์)
3 = Approx. diameter of dielectric core ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น